วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประเพณีภาคเหนือ

ประเพณีภาคเหนือ


Image result for รูปรวมประเพณี


 ประเพณีลอยโคม
       
     เป็นประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคม การลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึ้นไปสู่ท้องฟ้า แทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว



Image result for ประเพณีภาคเหนือ





ประเพณีตักบาตรเทโว

    
     ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ซึ่งตรงกับช่วงสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือนของภิกษุสงฆ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้พอดี  ในทุกๆ ปี พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ จะร่วมกันทำบุญตักบาตรโดยจัดพิธีเป็นพิเศษกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป เรียกการตักบาตรครั้งนี้ว่า ตักบาตรเทโว  หรือการถวายบาตรพระภิกษุเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเป็นการทำบุญทำกุศลอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ บิดามารดา ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เจ้ากรรมนายเวรและเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว



Image result for ประเพณีภาคเหนือ




ประเพณีตานก๋วยสลาก

   
    ประเพณีตานก๋วยสลากหรือสลากภัตนี้เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ก๋วยสลาก
    ก๋วยสลาก สานจากไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอก (ชะลอม) ข้างในกรุด้านข้างด้วยใบตอง สำหรับบรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง ผลหมากรากไม้ ของใช้จำเป็น ดอกไม้ธูปเทียน โดยชาวบ้านจะนำก๋วยสลากของแต่ละคนไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนา








 ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง

ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดว ที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว "ข้าวปี


Image result for ประเพณีภาคเหนือ



 ประเพณีแข่งขันเรือยาว
       
    การแข่งขันเรือยาวประเพณี มรดกวัฒนธรรมทางสายน้ำที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ เรือและผู้คน บนพื้นฐานความสามัคคีพร้อมเพรียง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวที่มักจัดคู่ไปกับการเข้าวัดทำบุญตักบาตร เนื่องในเทศกาลออกพรรษา ทอดกฐินผ้าป่าสามัคคี
    ประเพณีแข่งขันเรือยาวประเพณีนี้ เป็นเกมกีฬาเก่าแก่ย้อนกลับไปถึงสมัยอยุธยากรุงเก่า เป็นที่นิยมเล่นกันทั้งภายในพระราชวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด  ดังที่มีปรากฏในกฏมณเทียรบาลเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ได้กล่าวถึงพระราชพิธีเดือน ๑๑ จะมีการแข่งเรือยาวขึ้น เพื่อเป็นการฝึกปรือกำลังพลทหารประจำกองเรือ



Image result for ประเพณีภาคเหนือ




ประเพณีปักธงชัย


     ชาวนครไทย จังหวัดพิษณุโลกมีความเชื่อและศรัทธากับประเพณีหนึ่งที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานและกลายเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวนครไทยที่จะต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประเพณีที่ว่าคือประเพณีปักธงชัยหรือการแห่ธงขึ้นไปปักบนยอดเขาช้างล้วง
     ในวันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ชาวนครไทย เมืองพิษณุโลก ต่างพากันจัดขบวนแห่ธง
     ที่ทอขึ้นเอง  ๓ ผืน ขึ้นไปปักยังยอดเขาทั้งสามยอดบนเทือกเขาที่ทอดตัวยาวขนานไปกับถนนหมายเลข ๑๑๔๓ (นครไทย – ชาติตะการ) ซึ่งห่างไปจากอำเภอนครไทยประมาณ ๖ กิโลเมตร


Image result for ประเพณีปักธง



ประเพณีสงกรานต์

     วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณก่อนที่จะมีการประกาศวันขึ้นปีใหม่แบบสากล ในขณะที่ชาวต่างชาติต่างรู้จักวันสงกรานต์ในฐานะของการละเล่นสาดน้ำคลายร้อนที่โด่งดังไปทั่วโลก
     คำว่าสงกรานต์นั้น แปลว่า ก้าวขึ้น เปลี่ยนผ่าน หรือย่างขึ้น ซึ่งตรงกับทางโหราศาสตร์ที่ว่า วันสงกรานต์จะเป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 , 14, 15 เมษายนของทุกปี ในบางจังหวัดก็จะมีการเฉลิมฉลองยาวนานกว่า 3 วัน เช่น ประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประเพณีสงกรานต์(วันไหล)พัทยา และนอกจากไทยแล้ว ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง เช่น ลาว พม่า กัมพูชา ก็มีประเพณีวันสงกรานต์เช่นเดียวกัน




Image result for ประเพณีสงกรานต์



ประเพณีนบพระเล่นเพลง

     วันมาฆบูชาหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ตามปฏิทินไทย หลายๆ จังหวัดต่างจัดให้มีการทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังเทศน์กันเป็นประเพณีนิยม แต่สำหรับชาวกำแพงเพชรแล้ว ในวันเพ็ญเดือนสามนี้ จะมีประเพณีสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวกำแพงเพชรปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ชื่อว่า ประเพณีนบพระ – เล่นเพลง



Image result for ประเพณีพระเล่นเพลง




ประเพณีอู้สาว

     ประเพณีอู้สาว คำว่า “อู้” เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า “พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน” ดังนั้น “อู้สาว” ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร




                                        Image result for ประเพณีอู้สาว



ประเพณีปอยส่างลอง

งานประเพณีปอยส่างลอง หรือในอีกชื่อหนึ่ง ประเพณีบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีการบวช  เณรให้กับบุตรหลานตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวไทยใหญ่ ที่อยู่ในจังหวัด      แม่ฮ่องสอน ได้ใช้เวลาว่างศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า            ในช่วงเดือนมีนาคม –  เดือนเมษายนของทุกปี  คำว่า ปอย แปลได้ว่า งาน  ส่วนคำว่า ส่าง  จะหมายถึง พระหรือเณร และ ลอง แปลว่า ราชา กษัตริย์ หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน        เมื่อ  นำคำ ๓ คำนี้มารวมกัน จะหมายถึง งานบวชพระหรือเณรของเด็กๆ ที่แต่งกายคล้ายราชา


                                p16pohun1v38mbl61to21qn71onb3